News

“กล่องสุ่ม” เสี่ยงโชครูปแบบใหม่ที่มาแรง! สคบ.เตรียมล้อมคอกคุมเข้ม!เตือนปชช.ระวังถูกหลอก

กลายเป็นการเสี่ยงโชครูปแบบใหม่ของคนที่ชอบลุ้นโชคจากการซื้อสินค้าทางออนไลน์ หลังจากที่เมื่อเร็วๆนี้ มีการเปิดขาย “กล่องสุ่ม” ราคาใบละ 100,000 บาท โดยสามารถปิดยอดขายได้ 100 ล้านบาท ภายใน 10 นาที สร้างความฮือฮาอย่างมากบนโลกออนไลน์ แต่นั้นยังไม่พอ! ไม่กี่วันต่อมา ก็มีการจัดขาย “กล่องสุ่ม” อีกครั้ง ในราคากล่องละ 10,000 บาท และก็สามารถสร้างรายได้ซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้อีกครั้ง 100 ล้านบาท ภายใน 5 นาที

นับเป็นการจุดประกายธุรกิจ “กล่องสุ่ม” ให้ตามออกมาอีกหลายระลอกจากหลากหลายแม่ค้า พ่อค้า!!!

ซึ่งต้องยอมรับว่า “กล่องสุ่ม” คือความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้ซื้อไม่สามารถรู้ได้เลยว่าสินค้าที่อยู่ในกล่องนั้น เป็นอย่างไร ดีหรือไม่ คุ้มค่าหรือไม่ จะรู้อีกทีก็ตอนแกะกล่องออกดูสินค้า กลายเป็นความเสี่ยงที่ได้ไม่คุ้มเสีย ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดีหลอกเงิน!!!

และจากการตรวจสอบของ “ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ 1212 OCC” โดย “นายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพฐ์” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เผยว่า ตั้งแต่เดือน ม.ค.-พ.ย. 64 มีประชาชนร้องเรียนและติดต่อเข้ามารวม 48,513 ครั้ง โดยเป็นการร้องเรียนปัญหาซื้อขายทางออนไลน์ถึง 33,080 ครั้ง เพิ่มขึ้นกว่า 50% จากสถิติทั้งปี 63 ที่มีจำนวน 20,619 ครั้ง ส่วนปัญหาออนไลน์รองลงมา ได้แก่ เว็บไซต์ผิดกฎหมาย 10,658 ครั้ง ปัญหาอื่นๆ สอบถามข้อสงสัย 2,798 ครั้ง ปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์ 1,588 ครั้ง และปัญหาข้อสงสัยด้านกฎหมายไอซีที 389 ครั้ง

“เฉพาะการซื้อขายสินค้าออนไลน์เดือน พ.ย. มีจำนวนการร้องเรียนอ 4,772 ครั้ง ปัญหามากสุด คือ ไม่ได้รับสินค้า 40% ,สินค้าไม่ตรงตามข้อตกลง ผิดสี/ขนาด ไม่ตรงตามโฆษณา 30% , ปรึกษาด้านการซื้อขายออนไลน์ 14% ,ได้รับสินค้าชำรุด 4% ,สอบถามขั้นตอนการแจ้งร้องเรียนหลักฐานที่ต้องใช้ 2% ,ได้รับสินค้าผิดกฎหมาย 1% และได้รับสินค้าล่าช้ากว่ากำหนด 1%”

ช่องทางการซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่ได้รับการร้องเรียนมากสุด ได้แก่ เฟซบุ๊ก 82.1% ตามมาด้วย เว็บไซต์ 5.6% ,อินสตาแกรม (ไอจี) 3.5% ,แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ (อี-มาร์เก็ตเพลส) 3.3% และไลน์ 2.4% สำหรับประเภทสินค้าที่ได้รับการร้องเรียนมากสุด คือ สินค้าแฟชั่น 23.7% ,ของใช้ในบ้าน 20.9% ,อุปกรณ์ไอที 18.3% ,อาหารและเครื่องดื่ม 11.7% ,สินค้าประดับยนต์ (อุปกรณ์) 6.8% ขณะที่ มูลค่าการซื้อขายที่มีการร้องเรียน 3 อันดับแรก อยู่ในช่วงราคา 1,001-2,000 บาท ตามมาด้วย 501-1,000 บาท และมากกว่า 10,000 บาท ซึ่งปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าราคาหลักหมื่นส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทไอที เช่น โทรศัพท์มือถือ

ADVERTISEMENT

อย่างไรก็ตามประชาชนสามารถร้องเรียนปัญหา แจ้งเบาะแส หรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาออนไลน์ ได้ผ่านช่องทางการติดต่อ ดังนี้ สายด่วนโทร. 1212 อีเมล์ [email protected] เว็บไซต์ 1212OCC.com เพจเฟซบุ๊ก : ข้อมูลข่าวสาร 1212 OCC และสำนักงานสถิติจังหวัดทั่วประเทศ

ด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองผู้บริโภค “สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค” (สคบ.) ออกตัวแรงเตรียมคุมเข้ม โดย “นายสุวิทย์ วิจิตรโสภา” รองเลขาธิการสคบ. บอกว่า เตรียมออกกฎกระทรวง เพื่อมาควบคุมการโฆษณาขายกล่องสุ่มปริศนา ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในช่องทางออนไลน์ และมักมีการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง ทั้งเน็ตไอดอล ยูทูบเบอร์ หรือดารานักร้อง มารีวิว และโฆษณาชักชวนให้ผู้บริโภคมีความสนใจ จนหลงเชื่อและซื้อสินค้า ซึ่งการออกกฎหมายฉบับนี้จะกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ชัดเจน เพื่อช่วยคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมด้วย

ทั้งนี้ สคบ. มองว่า ปัญหาสำคัญสำหรับการโฆษณาหรือจำหน่ายกล่องสุ่มมี 2 ประเด็นหลัก โดยประเด็นแรก อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการพนัน ที่ดูแลโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย หากไม่ได้ทำการขออนุญาตอย่างถูกต้อง หรือไม่ผ่านการตรวจสอบ ส่วนประเด็นที่สองเกี่ยวข้องกับผู้บริโภค เพราะการระบุข้อมูลในกล่องว่ามีเพียงประเภทสินค้า เช่น เครื่องสำอาง หรือของใช้ โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดสำคัญของสินค้า ทั้งฉลาก และราคา ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค เกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคต้องได้รับข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาของสินค้าที่ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นสินค้าได้อย่างชัดเจนว่ามีความจำเป็นก่อนตัดสินใจซื้อ

“ตามสิทธิผู้บริโภคขั้นพื้นฐานต้องรู้ว่าสินค้านั้นมีอะไรก่อนจึงจะตัดสินใจซื้อ แต่การเอาของมาใส่ในกล่องโดยไม่มีข้อมูล เป็นกล่องสุ่ม บางทีผู้โฆษณาสินค้าอาจบอกว่ากล่องนี้เอาโทรศัพท์ไอโฟนมาเป็นสิ่งจูงใจ โดยมีกล่องสุ่ม 400-500 กล่อง แต่มีไอโฟนแค่กล่องเดียวอย่างนี้ ก็ไม่ถูกต้อง ซึ่งในการพิจารณากฎหมายมาควบคุมนั้น สคบ.จะพิจารณาข้อมูลรายละเอียดให้ครบถ้วน ไม่ให้ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ และได้รับความเป็นธรรม พร้อมทั้งจะขยายผลไปถึงการดูแลเกี่ยวกับการเสนอขายสินค้าในรูปแบบไลฟ์สด รีวิว ควรจะต้องมีกรอบที่ชัดเจนให้ผู้บริโภคไม่ถูกหลอกลวง และเท่าทันกับยุคดิจิทัลด้วย ดังนั้นจึงขอเตือนให้ผู้บริโภค หรือผู้ปกครองได้รับทราบ หากเห็นบุตรหลานของตัวเองมีการซื้อของดังกล่าวก็ต้องแจ้งเตือนให้ระวัง เพราะอาจจะทำให้เสียเงินโดยใช่เหตุ”

สุดท้าย! อยู่ที่ผู้บริโภคว่าจะยอมตกเป็นเหยื่อหรือไม่!?!

You may also like...