News

หุ้นไทยขาดปัจจัยหนุน จับตาผู้ติดเชื้อโอไมครอนหลังปีใหม่ชี้วัดตลาดหุ้นโลก

 

ตลาดหุ้นไทยขาดปัจจัยหนุน ทั่วโลกจับตาพัฒนาการโอไมครอนจากยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่หลังเทศกาลปีใหม่ “เอเซียพลัส” ประเมินไทยหากผู้ติดเชื้อไม่เกิน 1.5 หมื่นราย เท่ากับ Base case ที่ สธ.คาดการณ์ไว้ เชื่อไม่น่าเห็นการคุมกิจกรรมเศรษฐกิจแบบเข้มงวด อาจคุมบางพื้นที่บางกลุ่มธุรกิจ ผลกระทบต่อคาดการณ์เศรษฐกิจไทย-กำไรบริษัทจดทะเบียนปี 65 คาดน่าจะจำกัดหรือไม่หดตัวแรง

วันที่ 29 ธันวาคม 2564 บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด รายงานแนวโน้มตลาดหุ้นไทยว่า 2 วันสุดท้ายของปี 2564 เริ่มขาดปัจจัยหนุน หลักๆ ทั่วโลกยังคงให้น้ำหนักหรือติดตามพัฒนาการสถานการณ์โควิดสายพันธุ์โอไมครอน จะทำให้ผู้ติดเชื้อรายใหม่ (New Case) ทั่วโลกหลังเทศกาลปีใหม่ช่วงต้นปี 2565 เป็นอย่างไร

หากพิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันทั่วโลก ล่าสุดสหรัฐเมื่อวานรายงาน New Case เพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพิ่ม 5 แสนราย (ดังรูปเส้นสีฟ้า) เช่นเดียวกับยุโรป รายงาน New Case ทำนิวไฮเพิ่ม 8.1 แสนราย (เส้นสีแดง) และอังกฤษ เพิ่ม 3 แสนราย หลักๆ เป็นการแพร่กระจายจากโอไมครอน แต่เป็นที่สังเกตว่าตลาดหุ้นโลกทั้งสหรัฐและยุโรป เมื่อวานนี้ไม่ได้ตอนสนองเชิงลบ และยังปรับตัวเพิ่มขึ้นทำ New high บ่งชี้ว่าตลาดเริ่มซึมซับประเด็นเหล่านี้ไประดับหนึ่งแล้ว คาดให้น้ำหนักการออกมาตรการคุมเข้มของรัฐที่จะออกมามากกว่า

สวนทางกับไทยเช้านี้รายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 2.57 พันราย (ยังต่ำกว่า 1 หมื่นรายติดต่อกันราว 2 เดือน) ดังคาดการณ์สาธารณสุขที่ออก 3 Scenario ฉากทัศน์คาดการณ์สถานการณ์โควิดไทยในปี 2565 หลังเทศกาลปีใหม่ หรือ เดือน ม.ค.-ก.พ.65 ที่คาดกรณี 1.Best case ผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นวันละ 1-1.3 หมื่นรายต่อวัน 2.กรณี Base Case (เส้นสีน้ำตาล) ผู้ติดเชื้อวันละ 1.5-1.6 หมื่นรายต่อวัน 3.กรณีเลวร้าย (เส้นสีน้ำเงิน) ผู้ติดเชื้อเพิ่ม 2.5-3 หมื่นรายต่อวัน

ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักติดตามจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดหลังปีใหม่หากออกมาไม่เกิน 1.5 หมื่นราย หรือเท่ากับ Base case ที่สาธารณสุขคาดการณ์ไว้ เชื่อว่าจะยังไม่น่าเห็นการคุมกิจกรรมเศรษฐกิจแบบเข้มงวด หรืออาจจะเป็นการดำเนินงานในบางพื้นที่ หรือบางกลุ่มธุรกิจ และคาดจะไม่รุนแรงเหมือนในงวดไตรมาส 2/63

โดยผลกระทบต่อคาดการณ์เศรษฐกิจไทยและกำไรซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้บริษัทจดทะเบียนปี 2565 คาดน่าจะจำกัด หรือไม่หดตัวแรง

ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยได้ทำการศึกษารูปแบบการระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอนในประเทศที่พบการระบาดที่มีสัดส่วนมากกว่า 40% พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในภาพรวมเร่งตัวมีแนวโน้มกินระยะเวลามากกว่า 1 เดือน (ดังรูป a) ส่งผลให้บางประเทศกลับมาเพิ่มความเข้มงวดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

สะท้อนได้จาก Stringency Index ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเข้มงวดของมาตรการภาครัฐ เช่น ปิดโรงเรียน สถานที่ทำงาน การจำกัดการเดินทาง มีค่าตั้งแต่ 0-100 โดยระดับยิ่งสูงหมายความว่ามาตรการยิ่งเข้มงวดที่สูงขึ้น (รูป b) พบว่ามักจะสร้างความอ่อนไหวต่อทิศทางตลาดหุ้นในช่วงรอยต่อการปรับใช้มาตรการ แต่หลังจากนั้นหากไม่มีการบังคับใช้หรือรัฐออกมาตรการคุมเข้มกิจกรรมเศรษฐกิจเพิ่มเติม พบว่าตลาดหุ้นประเทศต่างๆ จะฟื้นตัวขึ้นมาตามลำดับ

ส่วนในไทยที่ดูเหมือนจะอยู่ในช่วงต้นของการระบาดโอไมครอนทำให้เดือน ม.ค.65 ประเด็นนี้อาจกลับมาสร้างความกดดันหรืออย่างน้อยจะเป็น Overhang ที่จำกัดการขึ้นของ SET Index ในช่วงที่เหลือของปี

แต่อย่างไรก็ตามหากอ้างอิงกับประเทศอื่นๆ ที่โดยส่วนใหญ่ Downside ในการปรับลงจะไม่ต่ำกว่ารอบที่ WHO ประกาศว่า Omicron เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลในช่วงปลายเดือน พ.ย.64 ฝ่ายวิจัยประเมินแรงกดดันต่อ SET Index น่าจะจำกัดตรง 1,568 จุด

You may also like...